Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก


อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ภาพประกอบข่าว
         ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปี 52 ส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยหดตัว แนะหาช่องว่างตลาดให่ปรับวิกฤติเป็นโอกาส
            ภาวะ เศรษฐกิจถดถอยในต่างประเทศ ส่งผลกระทบทำให้การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยในช่วง ที่ผ่านมาหดตัวอย่างรุนแรง โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ได้ลดลงกว่าร้อยละ 31.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเป็น การลดลงต่อเนื่องจากเดือนมกราคม ด้านตลาดในประเทศก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแม้ว่าอาจจะไม่รุนแรงเท่าตลาดต่าง ประเทศ จากความไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้า ในอีกด้านหนึ่งปัญหาการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นก็มีผลต่อกำลังซื้อของ ผู้บริโภคด้วยเช่นกัน
         ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2552 มีแนวโน้มที่อาจหดตัวลงในช่วงร้อยละ 10-20 หรือคิดเป็นมูลค่า 35,800-40,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2551 โดยมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักโดยรวมมีแนวโน้มที่จะหดตัวค่อนข้างมาก และสภาวะการหดตัวสูงของการส่งออกนี้ น่าจะยังคงต่อเนื่องอย่างน้อยไปจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี โดยสินค้าที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และวงจรพิมพ์ เป็นต้น   
        อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพรวมของการส่งออกในปีนี้จะไม่สดใสนัก แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ยังมีโอกาสในบางตลาด ตัวอย่างเช่น การส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปยังประเทศแถบยุโรปตะวันออก การขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ในประเทศแถบทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ การส่งออกไปยังประเทศแถบเอเชียใต้และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน เช่น เวียดนาม ลาว อินเดีย บังคลาเทศ ซึ่งยังมีอัตราการครอบครองเครื่องใช้ไฟฟ้าต่ำและกำลังอยู่ในช่วงปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
 
      ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะใช้โอกาสเหล่านี้ในการกระจายสินค้าเพื่อ รักษาระดับการผลิตและกระจายความเสี่ยง เพื่อที่จะบรรเทาผลกระทบของการหดตัวของยอดขายจากตลาดดั้งเดิมได้ ซึ่งตรงจุดนี้รัฐบาลสามารถที่จะให้การส่งเสริมและสนับสนุนโดยการช่วยเหลือ ด้านต้นทุนและข้อมูลในเชิงลึกสำหรับผู้ประกอบการเพื่อการเปิดตลาดใหม่ ในตลาดดั้งเดิม ผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ อาจเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของสินค้าบางประเภท ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรให้ความสนใจติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดต่าง ประเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ว่าจะสามารถใช้โอกาสและปรับการผลิตเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างทันท่วงที
 
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20090410/33103


วิเคราะห์ Swot
จุดแข็ง
1.      มีนโยบายสนับสนุนงานด้าน IT
2.      นักวิจัยส่วนหนึ่งยอมรับงานวิจัย ถึงแม้จะได้รับค่าตอบแทนต่ำ
3.      มีกฎหมายรับรองธุรกรรมด้านITและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
จุดอ่อน
1.      กฎระเบียบของการสนับสนุนในการให้เงินทุนการทำวิจัยขาดความคล่องตัว
2.      ขาดการเชื่อมโยงการทำวิจัยระหว่างมหาลัยกับเอกชนและภาครัฐ
3.      ขาดการให้ทิศทางการวิจัยที่แน่นอน
4.      นักวิจัยไม่ค่อยมีเวลาทำวิจัยไม่สามารถดำเนินงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
โอกาส
1.      มีมาตรการการส่งเสริมการวิจัย โดยการลดภาษีเมื่อมีการวิจัยด้าน ICT
2.      มีความต้องการระบบบริหารการขนส่งสินค้า เนื่องจากมีการแข่งขันอย่างรุนแรง
3.      การร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาร่วมกับเอกชน
อุปสรรค
1.      ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐานICTของโลก
2.      มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเร็ว
3.      การพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านก้าวหน้ากว่าไทย

วันพุธที่ 10 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

วัฒนธรรมของมาเลเซีย

วัฒนธรรมของมาเลเซีย  
           มีสภาพคล้ายคลึงกับประเทศอินโดนีเชีย ชึ่งเป็นหมู่เกาะอิทธิพลของศาสนาอิสลามได้แพร่เข้ามาในแหลมมลายู ประชากรนับถือศาสนาอิสลาม 55% นับถือศาสนาพุทธ 25% นับถือศาสนาคริสต์ 13% นับถือศาสนาฮินดู 7% และลัทธิศาสนาพื้นเมือง 4% แต่การหันไปนับถือศาสนาอื่นที่ไม่ใช่อิสลามเป็นปัญหาอย่างมากเนื่องจากทาง ภาครัฐจะไม่เปลี่ยนข้อมูลทางราชการให้ มาเลเซียบัญญัติในรัฐธรรมนูญให้ศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ และผู้ที่นับถือศาสนาอิสลามจะมีสิทธิพิเศษ คือ ได้รับเงินอุดหนุนทางด้านการศึกษา สาธารณะสุข การคลอดบุตร งานแต่งงานและงานศพตามนโยบาย "ภูมิบุตร"
ที่มา
http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%9B%E0%B8%A3%E0%B8%B0%E0%B9%80%E0%B8%97%E0%B8%A8%E0%B8%A1%E0%B8%B2%E0%B9%80%E0%B8%A5%E0%B9%80%E0%B8%8B%E0%B8%B5%E0%B8%A2

วันพุธที่ 3 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

การตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ

การตลาดระหว่างประเทศ
     คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของสินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาดระหว่างประเทศ โดยมีเป้าหมายเพื่อการหาตลาดใหม่ เพื่อแย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาดระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ


การแบ่งประเภทของธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศจากรูปแบบของการดำเนินธุรกิจ สามารถแบ่งได้ 6 ประเภท ดังต่อไปนี้
1.1 บริษัทนำเข้าและส่งออกสินค้า (Import & Export Company)
1.2 บริษัทแฟรนไชน์ (Franchise) ในตลาดระหว่างประเทศ
1.3 สิทธิบัตรในการดำเนินธุรกิจ (Licensing) ในตลาดระหว่างประเทศ
1.4 บริษัทร่วมทุน (Joint Venture)
1.5 บริษัทลงทุนตั้งธุรกิจในตลาดระหว่างประเทศ (wholly owned subsidiaries)
1.6 การร่วมเป็นพันธมิตรทางธุรกิจ (Strategic Alliance or Strategic Partnership)
แนวความคิดของการตลาดระหว่างประเทศ
                แนวความคิดทางด้านการตลาด (Marketing Concept) หมายถึง จุดเน้นทางการตลาดที่ธุรธิจนำมาพิจารณาใช้เพื่อดำเนินกิจกรรมทางการตลาดให้บรรลุตามวัตถุประสงค์ทางการตลาดของธุรกิจ ทั้งนี้ แนวความคิดทางการตลาดจะเปลี่ยนแปลงตามระยะเวลา ตลอดจนสถานการณ์ทางการณ์ตลาดต่างๆ ที่เกี่ยวข้อง เช่น การแข่งขัน เศรษฐกิจ เป็นต้น ในอดีตแนวความคิดทางการตลาด มุ่งเน้นที่ผลิตภัณฑ์ การใช้ความพยายามในการปรับปรุงสินค้าให้ดีขึ้นเพื่อยอดขายที่เพิ่มขึ้นบรรลุตามวัตถุประสงค์ของธุรกิจ คือ กำไรจากยอดขาย
                ปัจจุบันแนวความคิดทางการตลาดได้เปลี่ยนแปลงไปตามสภาพการแข่งขันและปัจจัยต่างๆ จึงเป็นที่มาของแนวความคิดทางการตลาดสมัยใหม่ มุ่งเน้นที่ผู้บริโภค โดยยึดหลักว่า ธุรกิจจะประสบความสำเร็จได้เมื่อการตลาดสามารถตอบสนองความต้องการที่แท้จริงของผู้บริโภคได้
 

www.ba.ru.ac.th/KM/KM2/การตลาดระหว่างประเทศ.doc






ความหมายของการค้าระหว่างประเทศ
การค้าระหว่างประเทศ หมายถึง การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน เช่น ประเทศไทยส่ง
สาเหตุที่มีการค้าระหว่างประเทศ
เหตุผลทางเศรษฐกิจที่ทำให้ประเทศต่างๆในโลกทำการค้าขายกัน ที่สำคัญมีอยู่ด้วยกัน 2 ประการ คือ
1. ความแตกต่างทางด้านทรัพยากรที่ใช้ผลิตในแต่ละประเทศ เนื่องมาจากความ
แตก ต่างในเรื่องสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศ เช่น ประเทศ ไทยมีพื้นดินที่อุดมสมบูรณ์เหมาะสมแก่การเพาะปลูกมากกว่าญี่ปุ่น คูเวตมีน้ำมันมาก กว่าไทย จีนมีประชากรมากกว่าประเทศอื่นๆ ดังนั้น ประเทศใดที่มี ทรัพยากรชนิดใดมาก ก็จะผลิตสินค้าที่ใช้ทรัพยากรชนิดนั้นๆเป็นปัจจัยการผลิตสินค้าออกเพื่อแลก เปลี่ยน กับสินค้าอื่น
2. ความแตกต่างในเรื่องความชำนาญในการผลิต เนื่องจากผู้ผลิตของแต่ละประเทศ
จะ มีความชำนาญและเทคโนโลยีในการผลิตสินค้าและ บริการแตกต่างกัน บางประเทศผู้ผลิตมีความรู้ความชำนาญเป็นพิเศษในการผลิตสินค้า บางชนิด เช่น ประเทศญี่ปุ่นมีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องมืออิเล็กทรอนิกส์ ประเทศเนเธอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตเครื่องจักรกลการเกษตร ประเทศสวิตเซอร์แลนด์มีความรู้ความชำนาญในการผลิตนาฬิกา ความแตกต่างของ ปัจจัยดังกล่าวนี้ผลักดันให้แต่ละประเทศเล็งเห็นประโยชน์จากการเลือกผลิต สินค้าบาง อย่างที่มีต้นทุนต่ำ มีความรู้ความชำนาญ และเลือกสั่งซื้อสินค้าแตะละประเภทที่ผู้บริโภค ในประเทศของตนต้องการแต่ไม่สามารถผลิตได้ หรือผลิตได้ในต้นทุนที่สูงเกินไป และปัจจัยเหล่านี้ก้อให้เกิดการค้าระหว่างประเทศเกิดขึ้น
http://megaclever.blogspot.com/2008/07/blog-post_8307.html

ความแตกต่างของตลาดระหว่างประเทศกับการค้าระหว่างประเทศ
ตลาดระหว่างประเทศ คือ การทำธุรกิจค้าขายอันเป็นการสร้างมูลค่าเพิ่มและนำเสนอคุณค่าที่อยู่ในรูปของ สินค้าและบริการให้กับลูกค้าข้ามพรมแดนทางรัฐศาสตร์จากประเทศหนึ่งสู่ตลาด ระหว่างประเทศเพื่อ แย่งส่วนแบ่งทางการตลาดหรือเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าที่อยู่ในตลาด ระหว่างประเทศ โดยจุดมุ่งหมายที่แท้จริงคือ ธุรกิจต้องการรายได้ที่เป็นเงินจากลูกค้าในตลาดระหว่างประเทศ
 การค้าระหว่างประเทศ คือ การซื้อขายสินค้าและบริการระหว่างประเทศต่างๆ ประเทศที่ทำการซื้อขายสินค้าระหว่างกัน เรียกว่า "ประเทศคู่ค้า" สินค้าที่แต่ละประเทศซื้อเรียกว่า "สินค้าเข้า" (imports) และสินค้าที่แต่ละประเทศขายไปเรียกว่า "สินค้าออก" (exports) ประเทศที่ซื้อสินค้าจากต่างประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้นำเข้า" ส่วนประเทศที่ขายสินค้าให้ต่าง ประเทศ เรียกว่า "ประเทศผู้ส่งสินค้าออก" โดยทั่วไปแล้ว แต่ละประเทศจะมีฐานะเป็นทั้งประเทศ ผู้นำสินค้าเข้า และ ประเทศผู้สินค้าออกในเวลาเดียวกัน เพราะประเทศต่างๆ มีการผลิตสินค้า แตกต่างกัน

วันศุกร์ที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2553

กลยุทธ์การขายที่ทำให้ประสบความสำเร็จ

 พนักงานขายที่ประสบความสำเร็จควรมีแรงขับดันด้านจริยธรรมที่เหมาะสม สำหรับประเภทของงานขายเฉพาะอย่าง พนักงานขายจำเป็นต้องมีความรู้สึกด้านจริยธรรม เพื่อจะได้สามารถระบุถึงตำแหน่งและเข้าใจสถานการณ์ของลูกค้าได้ แรงขับดันด้านตัวเองคือความต้องการในการสร้างยอดขาย เพื่อเอาชนะ "ความไร้ยอดขายของพนักงานขาย" และดำเนินการติดต่อลูกค้า และปิดการขาย ลักษณะที่พึงปรารถนาของพนักงานขายควรมีลักษณะเบื้องต้นดังนี้ครับ

 1.ระดับความกระตือรือร้นสูงโดยเฉพาะอย่างยิ่งในการทำงานทางด้านการขาย เพราะงานขายเป็นงานที่พนักงานขายต้องดูแลตนเอง ดูแลเวลาและบริหารเวลาดังนั้นความกระตือรือร้นในการทำงานจึงเป็นปัจจัยต้นๆ ในการที่จะทำให้พนักงานขายประสบความสำเร็จ


2.ความเชื่อมั่นในตนเองสูง โดยความเชื่อมั่นที่เกิดขึ้นจะทำให้ลูกค้าเกิดความเชื่อถือพนักงานขายและหาก ลูกค้าเกิดความเชื่อมั่นแล้วการปิดการขายก็คงทำได้ไม่ยากนัก


3.มีความต้องการสิ่งที่เป็นรูปธรรม โดยหลักต้องถามก่อนว่ามนุษย์ทำงานต้องการอะไร ส่วนใหญ่คำตอบก็คือเงิน ดังนั้น หากความต้องการของเรา คือเงินคำถามตามมาก็คือทำอย่างไรจึงจะได้เงินคำตอบก็คือการปิดการขายให้ได้ นั้นเอง


4.ขยันทำงาน พนักงานขายทุกคนคงไม่โชคดีที่เมื่อเวลาติดต่อกับลูกค้าแล้วสามารถปิดการขาย ได้ 100% ดังนั้น พนักงานควรเตรียมศึกษาอัตราการเข้าพบลูกค้าต่ออัตราการปิดการขายเอาไว้ด้วย เพื่อที่จะทำให้เราสามารถประเมินศักยภาพและความขยันของตนเองให้มากขึ้นเช่น อัตราการเข้าพบลูกค้าต่ออัตราการปิดการขายเท่ากับ 10:4 แสดงว่าหากพนักขายเข้าพบลูกค้า 10 รายจะสามารถขายได้ 4 ราย ดังนั้น หากต้องการลูกค้าที่เราปิดการขายได้ 8 รายเราก็ควรหาลูกค้าเป้าหมายอย่างน้อย 20 รายนะครับ


5.อดทนสูง เพราะพนักงานขายต้องเจอกับแรงกดดันตลอดเวลาทั้งจากลูกค้า บริษัทและเป้าหมายของตนเอง และเราต้องเตือนตนเองตลอดเวลาว่าลูก ค้าส่วนใหญ่ Say "NO" ตลอดไม่ว่าเราจะนำเสนอสิ่งดีๆ มาให้แค่ไหน ดังนั้น เราควรต้องมีความอดทนอย่างสูงในการเปลี่ยนลูกค้าจาก NO เป็น YES ให้ได้


6.มีความรู้ที่ดี ความรู้ในที่นี้จะประกอบไปด้วยความรู้เกี่ยวกับสินค้าที่ขาย บริษัทที่ขายและความรู้เกี่ยวกับเทคนิคการขาย เราต้องหมั่นฝึกฝนและฝึกอบรมให้ตนเองมีความรู้ อย่างต่อเนื่อง ทันสมัยตลอดเวลา


7.มีลักษณะทางกายภาพดี ในที่นี้เราคงเน้นทางด้านบุคลิกภาพที่ดีนั้นเองอย่าลืมนะครับว่าการพบกัน ครั้งแรกความน่าเชื่อถือเกิดจากการที่เรามีบุคลิกภาพ ที่ดีนั้นเอง


8.มีมนุษยสัมพันธ์และมีทักษะการสื่อสารดี ปัจจัยนี้จะเป็นปัจจัยที่ทำให้ลูกค้าหรือคนที่พบเห็นเกิดความประทับใจและ เข้าใจในสิ่งที่พนักงานนำเสนอได้อย่างถูกต้อง เข้าใจ และส่งผลต่อการตัดสินซื้อสินค้าที่เรานำเสนอนั้นเอง


9.สุดท้ายพนักงานขายที่จะประสบความสำเร็จต้องมีวินัยในตนเอง และมุ่งสู่เป้าหมาย ทางการขายเพราะพนักงานจ้องสามารถบริหารเวลาของตนเองอย่างมากเพราะอาชีพทาง การขายเป็นอาชีพอิสระ หากท่านเป็นนักขายท่านลอง ถามตนเองว่าเวลา 08.30 และ 17.00 น.ท่านอยู่กับลูกค้าอยู่หรือเปล่า หากท่านยังไม่อยู่กับลูกค้าโอกาสที่จะทำให้ท่านสำเร็จคงยากนะครับ

ยกตัวอย่าง เช่น โรงหนัง




ที่มา : http://www.siamturakij.com