Powered By Blogger

วันศุกร์ที่ 19 พฤศจิกายน พ.ศ. 2553

บทความการส่งออก


อุตสาหกรรมอิเล็กทรอนิกส์ไทย ปรับวิกฤติให้เป็นโอกาส
โดย : กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
ภาพประกอบข่าว
         ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดปี 52 ส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยหดตัว แนะหาช่องว่างตลาดให่ปรับวิกฤติเป็นโอกาส
            ภาวะ เศรษฐกิจถดถอยในต่างประเทศ ส่งผลกระทบทำให้การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ไทยในช่วง ที่ผ่านมาหดตัวอย่างรุนแรง โดยมูลค่าการส่งออกในเดือนกุมภาพันธ์ได้ลดลงกว่าร้อยละ 31.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน และเป็น การลดลงต่อเนื่องจากเดือนมกราคม ด้านตลาดในประเทศก็ได้รับผลกระทบเช่นกันแม้ว่าอาจจะไม่รุนแรงเท่าตลาดต่าง ประเทศ จากความไม่มั่นใจต่อภาวะเศรษฐกิจในอนาคต ทำให้ผู้บริโภคชะลอการซื้อสินค้า ในอีกด้านหนึ่งปัญหาการว่างงานที่มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นก็มีผลต่อกำลังซื้อของ ผู้บริโภคด้วยเช่นกัน
         ดังนั้น ศูนย์วิจัยกสิกรไทย คาดว่า การส่งออกสินค้าเครื่องใช้ไฟฟ้าและอิเล็กทรอนิกส์ของไทยในปี 2552 มีแนวโน้มที่อาจหดตัวลงในช่วงร้อยละ 10-20 หรือคิดเป็นมูลค่า 35,800-40,300 ล้านดอลลาร์สหรัฐฯ เมื่อเทียบกับปี 2551 โดยมูลค่าการส่งออกไปตลาดหลักโดยรวมมีแนวโน้มที่จะหดตัวค่อนข้างมาก และสภาวะการหดตัวสูงของการส่งออกนี้ น่าจะยังคงต่อเนื่องอย่างน้อยไปจนถึงไตรมาสที่ 3 ของปี โดยสินค้าที่มีแนวโน้มได้รับผลกระทบค่อนข้างมาก ได้แก่ เครื่องปรับอากาศและส่วนประกอบ เครื่องรับโทรทัศน์และส่วนประกอบ กลุ่มชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์ อาทิ คอมพิวเตอร์ อุปกรณ์และส่วนประกอบ แผงวงจรไฟฟ้า และวงจรพิมพ์ เป็นต้น   
        อย่างไรก็ดี แม้ว่าภาพรวมของการส่งออกในปีนี้จะไม่สดใสนัก แต่ศูนย์วิจัยกสิกรไทย มองว่าผู้ผลิตและส่งออกสินค้าอิเล็กทรอนิกส์ก็ยังมีโอกาสในบางตลาด ตัวอย่างเช่น การส่งออกสินค้าประเภทชิ้นส่วนอิเล็กทรอนิกส์และส่วนประกอบเครื่องใช้ไฟฟ้า ไปยังประเทศแถบยุโรปตะวันออก การขยายการส่งออกไปยังตลาดใหม่ในประเทศแถบทวีปแอฟริกาและอเมริกาใต้ การส่งออกไปยังประเทศแถบเอเชียใต้และกลุ่มประเทศกำลังพัฒนาในอาเซียน เช่น เวียดนาม ลาว อินเดีย บังคลาเทศ ซึ่งยังมีอัตราการครอบครองเครื่องใช้ไฟฟ้าต่ำและกำลังอยู่ในช่วงปรับปรุง โครงสร้างพื้นฐาน เป็นต้น
 
      ซึ่งผู้ประกอบการสามารถที่จะใช้โอกาสเหล่านี้ในการกระจายสินค้าเพื่อ รักษาระดับการผลิตและกระจายความเสี่ยง เพื่อที่จะบรรเทาผลกระทบของการหดตัวของยอดขายจากตลาดดั้งเดิมได้ ซึ่งตรงจุดนี้รัฐบาลสามารถที่จะให้การส่งเสริมและสนับสนุนโดยการช่วยเหลือ ด้านต้นทุนและข้อมูลในเชิงลึกสำหรับผู้ประกอบการเพื่อการเปิดตลาดใหม่ ในตลาดดั้งเดิม ผลจากการออกมาตรการกระตุ้นเศรษฐกิจในหลายๆ ประเทศ อาจเป็นประโยชน์ต่อการส่งออกของสินค้าบางประเภท ดังนั้นผู้ประกอบการจึงควรให้ความสนใจติดตามความเคลื่อนไหวของตลาดต่าง ประเทศอย่างสม่ำเสมอ เพื่อที่ว่าจะสามารถใช้โอกาสและปรับการผลิตเพื่อรับกับความเปลี่ยนแปลงได้ อย่างทันท่วงที
 
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/business/business/20090410/33103


วิเคราะห์ Swot
จุดแข็ง
1.      มีนโยบายสนับสนุนงานด้าน IT
2.      นักวิจัยส่วนหนึ่งยอมรับงานวิจัย ถึงแม้จะได้รับค่าตอบแทนต่ำ
3.      มีกฎหมายรับรองธุรกรรมด้านITและกฎหมายคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล
จุดอ่อน
1.      กฎระเบียบของการสนับสนุนในการให้เงินทุนการทำวิจัยขาดความคล่องตัว
2.      ขาดการเชื่อมโยงการทำวิจัยระหว่างมหาลัยกับเอกชนและภาครัฐ
3.      ขาดการให้ทิศทางการวิจัยที่แน่นอน
4.      นักวิจัยไม่ค่อยมีเวลาทำวิจัยไม่สามารถดำเนินงานวิจัยอย่างต่อเนื่อง
โอกาส
1.      มีมาตรการการส่งเสริมการวิจัย โดยการลดภาษีเมื่อมีการวิจัยด้าน ICT
2.      มีความต้องการระบบบริหารการขนส่งสินค้า เนื่องจากมีการแข่งขันอย่างรุนแรง
3.      การร่วมมือระหว่างสถาบันการศึกษาร่วมกับเอกชน
อุปสรรค
1.      ความล่าช้าในการกำหนดมาตรฐานICTของโลก
2.      มีการเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยีเร็ว
3.      การพัฒนาของประเทศเพื่อนบ้านก้าวหน้ากว่าไทย

1 ความคิดเห็น: